วิชา การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง30208 (เพิ่มเติม)
ระดับมัธยมศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3

วีดีโอสอนการประกอบคอมพิวเตอร์อย่างง่าย

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

เสียงที่มักจะดังตอนเปิดเครื่อง มันคืออะไรกันนะ ?

ทุก ๆ ครั้งที่เปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่ได้ยินสียงผอดไปจากปกติกแสดงว่าเครื่องอาจมีปัญหาแล้ว เมื่อเจออาการแบบนี้ให้ปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่ได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบออสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทางแก้ไขต่อไป


ตารางแสดงรหัสเสียงที่พบบ่อยครั้งของไบออส Award


เสียง ความหมาย
เสียงบี๊บสั้นๆ 1 ครั้ง
เครื่องทำงานปกติดี , POST ผ่าน
เสียงบี๊บสั้นๆ 2 ครั้ง  เครื่องทำงานผิดปกติ , POST ไม่ผ่าน
เสียงบี๊บ สั้นๆ หลายครั้งอย่างต่อเนื่อง แหล่งจ่ายไฟ (PowerSupply) หรือเมนบอร์ดมีปัญหา
เสียงบี๊บยาวๆ 1 ครั้ง และสั้นๆ 1 ครั้ง เมนบอร์ดมีปัญหา
เสียงบี๊บยาวๆ 1 ครั้ง และสั้นๆ 3 ครั้ง การ์ดจอเสียบไม่แน่น หรือการ์ดจอเสีย
เสียงบี๊บยาวๆ หลายครั้งอย่างต่อเนื่อง แรมเสียบไม่แน่น หรือหน้าสัมผัสสกปรก

ตารางแสดงรหัสเสียงที่พบบ่อยครั้งของไบออส AMI


 จำนวนครั้ง ความหมาย
 1 เครื่องทำงานปกติดี, POST ผ่าน
 2 หน่วยความจำส่วนแรกสุด (64k) มีปัญหา ตรวจสอบ partition ไม่ผ่าน
 3 การทดสอบการอ่าน/เขียนข้อมูลในหน่วยความจำมีปัญหา
 4 วงจรตั้งเวลาตัวหลักบนเมนบอร์ดมีปัญหา
 5 CPU มีปัญหา
 6 ตัวชิปที่ควบคุมการทำงานของ keyboard มีปัญหา
 7 เกิดปัญหาในการเปลี่ยน mode การทำงานของ CPU
 8 หน่วยความจำบนการ์ดจอมีปัญหา (การ์ดเสีย) หรือการ์ดเสียบไม่แน่น หน้าสัมผัสสกปรก
 9 BIOS มีปัญหา
 10 CMOS มีปัญหา ไม่สามารอ่านเขียน CMOS ได้
 11 หน่วยความจำ cache มีปัญหา

ตารางแสดงรหัสเสียงที่พบบ่อยครั้งของไบออส Phoenix

 เสียง
 ความหมาย
1-1-3
CMOS มีปัญหาไม่สามารถอ่านเขียน CMOS ได้
1-1-4
BIOS มีปัญหา
1-2-1
วงจรตั้งเวลาตัวหลักบน mainboard มีปัญหา
1-2-2
mainboard มีปัญหา
1-2-3
mainboard มีปัญหา
1-3-1
mainboard มีปัญหา
1-3-3
RAM มีปัญหา
1-3-4
RAM มีปัญหา หรือ mainboard มีปัญหา
1-4-1
RAM มีปัญหา หรือ mainboard มีปัญหา
1-4-2
RAM มีปัญหา 
2-1-1 / 2-1-2
RAM มีปัญหา
2-1-3 / 2-1-4 
RAM มีปัญหา
3-1-0
chip บน mainboard มีปัญหา  
3-1-1 / 3-1-2
mainboard มีปัญหา
3-1-3 / 3-1-4
Interrupt มีปัญหา
3-2-4
chip บน mainboard มีปัญหา (ทำงานผิดพลาด)
3-3-4 / 3-4-0
การ์ดจอมีปัญหา 
3-4-1 / 3-4-2
การ์ดจอมีปัญหา
4-2-1
chip บน mainboard มีปัญหา
4-2-2 / 4-2-3
chip ควบคุมการทำงานบน keyboard เสีย
4-2-4
อุปกรณ์การ์ด หรือ mainboard มีปัญหา
4-3-1
mainboard มีปัญหา
4-3-2 / 4-3-3
mainboard มีปัญหา
4-3-4
ไม่สามารถตั้งเวลาได้ แบตเตอรี่บน mainboard หมด
4-4-1
Serial port มีปัญหา
4-4-2 
parallel Port มีปัญหา
4-4-3
CPU เสีย

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

การเลือกซื้อเครื่อง และ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

1. ดูจากความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต

2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม

3. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์

  • ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
  • เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
  • ซีพียู (CPU) มีการรับประกัน 3 ปี
  • หน่วยความจำ (RAM) ส่วนใหญ่จะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน
  • ดีวีดีรอม (DVD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
  • การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า

4. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้แบบ 80+ และดูกำลังไฟเพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ในเครื่อง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด

Front Panel Connector (ขั้วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง)

     ในการประกอบคอมพิวเตอร์ มักจะมีปัญหาเรื่องการต่อ Front Panel connector (หรือ System Panel Connector ) อยู่บ่อยๆ เนื่องจากว่า เมนบอร์ดแต่ละรุ่น มีขั้วต่อคนละตำแหน่งกัน ทำให้เราไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเปิดคอมไฟหน้าเครื่องไม่มีกระพริบ

***Front Panel connector จะอยู่ในเมนบอร์ด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวๆขึ้นมาจากเมนบอร์ด


     เป็นขั้วต่อที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับสายไฟต่างๆที่ถูกโยงมาจากปุ่มสวิตซ์และไฟแสดงสถานะที่อยู่บริเวณหน้าเครื่องของตัวเครื่อง รวมทั้งลำโพงขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งไว้อยู่ภายในตัวเครื่องอีกด้วย ขั้นต่อเหล่านี้สามารถแยกแยะได้โดยจากการที่ดูสีที่แตกต่างกันพร้อมกับสัฐลักษณ์ขั้วบวก/ลบ หรืออ่านย่อจากตัวอักษรที่กำหนดไว้ข้างๆก็ได้ แต่ก็ควรเปิดดูรายละเอียดจากคู่มือเมนบอร์ดที่ให้มาด้วยเพื่อป้องกันความผิดพลาด เพราะเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อกำหนดไว้ไม่เหมือนกัน

ขั้วต่อและสายสัญญาณต่างๆ


- ปุ่มสวิทซ์ RESET (RESET SW) ทำหน้าที่เสมทอนปิดแล้วเปิดเครื่องใหม่ [RS RE RST]RESET SW


- ปุ่มสวิทซ์ POWER (POWER SW) ใช้เปิดเครื่อง (บางกรณีอาจใช้ปิดเครื่องแทนคำสั่ง Shutdown โดยกอปุ่มค้างไว้ 4 วินาทีจนเครื่องดับ)
[PWR , PW ,  PW SW , PS]


- หลอดไฟ POWER (POWER LED) เป็นหลอดไฟ LED สีเขียวที่อยู่หน้าเครื่อง ใช้แสดงสถานะว่าเครื่องกำลังทำงานอยู่ [PW LED, PWR LED]PW LED


- หลอดไฟ Harddisk (HDD LED) เป็นหลอดไฟ LED สีแดงหน้าเครื่อง ใช้แสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์หรือ CD/DVD Drive ในขณะนั้นว่ากำัลังทำงานอยู่ โดนกระพริบหรือติดเมื่อ Drive มีการอ่าน/เขียนข้อมูลเท่านั้น ถ้าไฟดับแสดงว่าไม่ถูกใช้งานถึงแม้ไดร์ฟจะกำลังหมุนอยู่ก็ตาม [HD]HD LED


- ลำโพง (SPEAKER) ใช้กับลำโพงขนาดเล็กที่ให้มาหรือถูกติดตั้งอยู่ภานในตัวเครื่อง เพื่อส่งสัญญาณเตือนจากไบออส (Beep Code) แสดงสถานะเริ่มต้นการทำงานของเครื่องว่าเป็นปกติหรือมีปัญหาตรงจุดใด [SP SPK]


  หมายเหตุ : ขั้วต่อต่างๆเหล่านี้บางขั้วสามารถต่อสลับโดยไม่สนใจขั้วบวก/ลบได้ เช่น ปุ่มสวิตซ์ POWER (POWER SW) และปุ่มสวิทซ์ RESET (RESET SW) แต่บางขั้วต่อก็จำเป็นต้องเสียบให้ถูกโดยคำนึงถึงขั้วบวก/ขั้วลบด้วย เล่น หลอดไฟสถานะต่างๆ และลำโพง เป็นต้น

  IDE LED คือตัวเดียวกับ HDD LED (IDE เป็น Harddisk ชนิดหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมี Harddisk หลายชนิด เช่น SATA SATA-II SCSI SAS SSD)

ต้นฉบับบทความ : http://www.thaigoodview.com/node/157755 เขียนโดย sss28838